ขั้นตอนการดำเนินงานตามเกณฑ์

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ
    
    เกณฑ์ : ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
    
    ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 4
    
    สำนักหอสมุดได้ดำเนินการจัดการของเสียและมลพิษตามแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยรังสิตที่มีแผนและแนวทางการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันเพื่อ
ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษและสารเคมโดยมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง มีการควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด
ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
    1. การจัดการขยะ
        สำนักหอสมุดมีการจัดการขยะโดยการลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ดังนี้
        1.1 มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการของเสียและขยะเพื่อรับผิดชอบเรื่องการสร้างจิตสำนึกในเรื่องการคัดแยกของเสียและขยะก่อนทิ้ง การนำวัสดุ
หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และการจัดการของเสียและขยะอย่างถูกวิธี
         1.2 มีการขอความร่วมมือในการคัดแยกขยะโดยเฉพาะขยะรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก แก้วน้ำพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์
 
 
        1. 3 มีแนวทางจัดการขยะโดยแม่บ้านประจำอาคารทำการแยกขยะรีไซเคิลทุกวันก่อนส่งไปยังพื้นที่รวบรวม เพื่อแบ่งประเภทในรงงานขยะก่อนรวบรวม
ส่งผู้รับเหมาในทุกๆวันศุกร์
 
  
 
        1.4 รณรงค์งดนำถุงพลาสติกและกล่องโฟมเข้ามาในสำนักหอสมุดทุกวันที่ 15 ของเดือน
 
 
        1.5 ปริมาณขยะของอาคารหอสมุดที่นำส่งสำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2559 – 2560
 
  
 
     2. การจัดการน้ำเสีย
        2.1 มีการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนทิ้งลงสู่ที่สาธารณะ
 
 
        2.2 มีการจัดการระบบดักไขมันและระบบระบายน้ำต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยก่อนลงสู่บ่อบำบัดน้ำเสียดูแลและควบคุมการทิ้งสารเคมีต่างๆ ให้ถูกต้อง
และมีความปลอดภัยเพื่อลดความเข้มข้นของน้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี
 
  
 
 
 
        2.3 มีการจัดทำรายงานผลการบำบัดเสนอต่อกรมควบคุมมลพิษตามกฎหมายทุกๆเดือน
 
    3. มีการจัดการมลพิษทางอากาศ
         3.1 มีการกำหนดงานให้เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดรับผิดชอบการทำความสะอาด ทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างสม่ำเสมอ
 
  
 
  
 
  
 
         3.2 มีการกำจัดแมลง มด ปลวก แมลงสาบ หนู และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บและกำจัดมด ปลวก แมลงต่างๆ
 
  
 
        3.3 มีนโยบายและรณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง
 
 
        3.4 มีการดำเนินกิจกรรม 5ส มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และพัฒนาสู่กิจกรรม 7ส ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อสนองนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัย
สร้างเสริมสุขภาพที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี
 
  
 
  
 
        3.5 การเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน
        สำนักหอสมุดให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินอันเกิดจากอัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย โดยเฉพาะอุทกภัยที่เกิดขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยรังสิตและการให้บริการผู้ใช้ของสำนักหอสมุด เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนอง
ต่อภาวะฉุกเฉิน จึงได้มีการจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวปฏิบัตสำหรับภาวะฉุกเฉินต่างๆ ได้แก่
                 3.5.1 คู่มือปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย อาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
                 3.5.2 คู่มือเตรียมพร้อมรับมือพิบัติภัยฉบับชุมชนหลักหก
                 3.5.3 แผนการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต กรณีไม่สามารถให้บริการเว็บไซต์และทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์
จากสาเหตุการเกิดอุทกภัย